เมนู

ส่วนกถานี้เป็นกถาโดยพิสดารว่า บรรดาปัจจัย 4 มีจีวรเป็นต้น หรือ
บรรดาอารมณ์ 6 มีรูปารมณ์เป็นต้น หรือทานวัตถุ 10 มีการให้ข้าวเป็นต้น
เจตนาของบุคุคลผู้ให้วัตถุนั้น ๆ ที่เป็นไปในกาลทั้ง 3 คือ ในบุรพภาค (ส่วน
เบื้องต้น ) จำเดิมแต่การเกิดขึ้นแห่งของนั้น ๆ 1 ในเวลาบริจาค 2 ในการ
ระลึกถึงด้วยจิตโสมนัสในภายหลัง 1 ชื่อว่า ทานมัย. ส่วนเจตนาที่เป็นไป
แก่บุคคลผู้ไปสู่วิหารผู้ตั้งใจว่า เราจักบวชเพื่อบำเพ็ญศีล ดังนี้ บวชแล้วยัง
มโนรถให้ถึงที่สุดแล้ว รำพึงอยู่ว่า เราบวชแล้วเป็นการดีหนอ ๆ ดังนี้
สำรวมพระปาฏิโมกข์ พิจารณาอยู่ซึ่งปัจจัยทั้งหลายมีจีวรเป็นต้น ระวังอยู่ซึ่ง
จักขุทวารเป็นต้นในอารมณ์มีรูปเป็นต้นที่มาสู่คลอง และชำระอาชีวะให้หมด
จดอยู่ ชื่อว่า ศีลมัย. เจตนาที่เป็นไปแก่พระโยคาวจรผู้เจริญอยู่ซึ่งจักษุ
โดยความเป็นของไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา เจริญรูปทั้งหลาย ฯลฯ
เจริญธรรมทั้งหลาย เจริญจักขุวิญญาณ ฯลฯ เจริญมโนวิญญาณ เจริญจักขุ
สัมผัส ฯลฯ เจริญมโนสัมผัส เจริญจักขุสัมผัสสชาเวทนา ฯลฯ เจริญมโน
สัมผัสสชาเวทนา ฯลฯ เจริญรูปสัญญา ฯลฯ เจริญชรามรณะ โดยความเป็น
ของไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา โดยทางแห่งวิปัสสนาที่กล่าวไว้ในปฏิสัม-
ภิทามรรค ชื่อว่า ภาวนามัย ดังนี้.

ว่าด้วยอปุญญาภิสังขาร


พึงทราบวินิจฉัยในนิเทศอปุญญาภิสังขาร ต่อไป
บทว่า อกุสลา เจตนา (อกุศลเจตนา) ได้แก่ เจตนาสัมปยุต
ด้วยอกุศลจิต 12 ดวง. บทว่า กามาวจรา (เป็นกามาพจร) ความว่า

บรรดาอกุศลเจตนา 12 ดวงเหล่านั้น เว้นเจตนาที่สหรคตด้วยโทมนัส 2 ดวง
ที่เหลือ ย่อมเกิดขึ้นแม้ในรูปภพและอรูปภพ แม้ก็จริง ถึงอย่างนั้น ก็ไม่ชัก
ปฏิสนธิมาในรูปภพและอรูปภพนั้น ย่อมยังวิบากให้ท่องเที่ยวไปในกามาวจร
ด้วยอำนาจปฏิสนธินั่นแหล่ะ เพราะฉะนั้น จึงตรัสว่า เป็นกามาพจรเท่านั้น
ดังนี้.

ว่าด้วยอาเนญชาภิสังขาร


พึงทราบวินิจฉัยในนิเทศอาเนญชาภิสังขาร ต่อไป
บทว่า กุสลา เจตนา อรูปาวจรา (กุศลเจตนาเป็นอรูปาวจร)
ได้แก่ กุศลเจตนาเป็นอรูปาวจร 4 จริงอยู่ กุศลเจตนาเป็นอรูปาวจร 4
เหล่านั้น ตรัสเรียกว่า อาเนญชาภิสังขาร เพราะอรรถว่า ไม่หวั่นไหว
และเพราะอรรถว่า ปรุงแต่งความไม่หวั่นไหว ด้วยว่าธรรม 15 คือ เจตนา
ที่เป็นกุศล วิบาก กิริยาที่เกิดแต่จตุตถฌานที่เป็นรูปาวจร 3 ดวง เจตนาที่เป็น
อรูปาวจร 12 ดวง ชื่อว่า อาเนญชา เพราะอรรถว่า มั่นคง เพราะอรรถว่า
ไม่หวั่นไหว. บรรดาเจตนา 15 เหล่านั้น รูปาวจรกุศลเจตนา แม้เป็นสภาพ
ไม่หวั่นไหว แต่ก็ให้เกิดรูปและอรูปที่เหมือนกับตนบ้าง ไม่เหมือนกับตนบ้าง
ให้มีความหวั่นไหวบ้าง ไม่มีความหวั่นไหวบ้าง เพราะฉะนั้น จึงไม่ชื่อว่า
อาเนญชาภิสังขาร ส่วนรูปาวจรวิบากเจตนาและรูปาวจรกิริยาเจตนา ย่อม
ปรุงแต่งวิบากไม่ได้ เพราะไม่มีวิบาก จึงชื่อว่า เป็นอาเนญชาภิสังขารไม่ได้
เจตนาที่เป็นอรูปาวจรวิบากและกิริยา ก็เป็นอาเนญชาภิสังขารไม่ได้เหมือนกัน
เพราะฉะนั้น เจตนาเหล่านั้นแม้ทั้ง 11 ดวง จึงเป็น อาเนญชา (ความไม่